ReadyPlanet.com
dot dot
dot
แนะนำที่พักและร้านอาหาร
dot
bulletบ้านต้นไม้รีสอร์ท
bulletร้านอาหารไก่ย่างน้องเล็ก1
dot
ต้องการรับข่าวสารจากเรา

dot
dot
โปรแกรมทัวร์
dot
bullet2 วัน 1 คืน :นครนายก
bulletOne Day :นครนายก
dot
กิจกรรมหรรษา ผจญภัย
dot
bulletกิจกรรมเพ้นท์บอล
bulletล่องแก่งเรือยาง
bulletล่องแก่งคายัค
bulletศูนย์ผจญภัยเขาหล่น
bulletกิจกรรมขับรถโกคาร์ท
bulletกิจกรรมขับรถ ATV
dot
เทคนิคการใช้ชีวิตกลางแจ้ง
dot
bulletเดินป่าพึ่งระวังสัตว์ร้าย
bulletเทคนิคปีนผา-โรยตัว
bulletเทคนิคการล่องแก่ง
bulletเทคนิคการเดินป่า
dot
ข้อมูลท่องเที่ยว
dot
bulletททท.สำนักงานนครนายก
bulletศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ
bulletขายของ ล่องแก่ง-ปีนผา
bulletผาจำลอง(เช่าที่นี่)
bulletรับก่อสร้าง-เช่าผาจำลอง




เทคนิคการล่องแก่ง


** การเตรียมตัวก่อนการล่องแก่ง **

ก่อนที่นักล่องแก่งจะลงไปผจญภัยกลางสายน้ำนายท้ายเรือหรือผู้ควบคุมเรือจะสอนวิธีการล่องแก่งเบื้องต้นก่อน เช่น การจับพายที่ถูกต้อง, ท่านั่งและการนั่งในเรือยาง, วิธีการพาย, คำสั่งต่าง ๆ ที่ฝีพายต้องรู้ รวมถึงการช่วยเหลือตนเองให้ปลอดภัยเมื่อพลัดตกลงไปในน้ำ และสิ่งจำเป็นที่นักล่องแก่งต้องศึกษาก็คือ รู้จักการอ่านสายน้ำและลักษณะของอุปสรรคต่าง ๆ ในแก่งน้ำ

** การอ่านสายน้ำ **

ลักษณะของสายน้ำและการอ่านสายน้ำคือสิ่งสำคัญที่นักล่องแก่งควรที่จะเรียนรู้ เพราะจะเป็นประโยชน์อย่างมากในเวลาที่ออกไปผจญภัยกันกลางแก่งน้ำ อาทิเช่น ความแรงของกระแสน้ำจะขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่าง ๆ ในธรรมชาติ เช่น ความลึก (Volume) โดยร่องน้ำยิ่งลึกมาก กระแสน้ำก็จะยิ่งไหลแรงมากขึ้นตาม เป็นต้น นอกจากนี้ การไหลของน้ำ (Gradient) สามารถแยกได้เป็น 2 อย่าง คือ

...แก่ง (Rapid) ซึ่งน้ำจะไหลเร็วและแรงมาก

...แอ่ง (Pool) น้ำจะไหลช้าและมีความลึกมาก

ปกติโดยทั่วไป บริเวณต้นแก่ง น้ำจะไหลเอื่อยและช้ากว่ากลางแก่ง หรือปลายแก่ง เป็นต้น อีกสิ่งหนึ่งที่ควรรู้และนักล่องแก่งต้องคำนึงถึงก็คือ ความเร็วของกระแสน้ำใต้ผิวน้ำและระดับผิวน้ำจะต่างกัน โดยช่วงต่ำกว่าผิวน้ำลงไป กระแสน้ำจะค่อย ๆ ลดความเร็วลง นอกจากนี้ ความลาดเอียงของหินใต้น้ำ (River Bend) จะมีผลต่อความแรงของกระแสน้ำด้วย คือบริเวณที่ลึก น้ำจะไหลแรงกว่าบริเวณที่ตื้น และภายใต้กระแสน้ำอาจจะมีหินใต้น้ำที่มองไม่เห็นและเป็นอันตรายไม่น้อย คือต้นไม้ หรือกิ่งไม้ที่ล้มขวางน้ำ อาจส่งผลอันตรายต่อลูกเรือ หรือตัวเรือได้

1. ร่องน้ำรูปตัววี (Downstream V) สายน้ำจะบีบตัวเข้าหากันเป็นรูปตัววี โดยมีโขดหินสองข้างขวางลำน้ำ ทำให้เกิดเป็นร่องน้ำระหว่างหินนั้น ควรบังคับหัวเรือให้ตรงตามร่องตัววีนั้น แต่อย่างไรก็ตาม นายท้ายเรือต้องตัดสินใจในการแก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้าอีกครั้ง เพราะช่องทางที่ดีที่สุดที่เห็นนั้น อาจจะพัดนักผจญแก่งไปกระแทกกับหินก็ได้ ร่องน้ำรูปตัววีคว่ำ ที่หันมุมแหลมเข้าหาเรานั้น จะเป็นอันตรายมากเรืออาจจะกระแทกกับหิน หรือน้ำอาจดูดเข้าไปหา จนทำให้เรือ หรือตัวเรากระแทกกับแก่งหินได้

2. น้ำวน ในกรณีนี้จะต้องพายเรืออกจากศูนย์กลางของวังน้ำวนให้เร็วที่สุดและกรณีผู้ที่ตกน้ำก็เช่นกัน จะต้องพยายามว่ายออกจากศูนย์กลางของน้ำวนให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่าฝั่งจะอยู่ทางใด และเมื่อหลุดจากวังน้ำวนมาแล้วค่อยว่ายกลับเข้าหาฝั่ง คลื่น (Wave) ในกระแสน้ำที่ไหลแรงและลึก หินที่อยู่ใต้น้ำและบนผิวน้ำจะทำให้เกิดคลื่นน้อยใหญ่แตกต่างกัน คลื่นนั้นอาจจะม้วนเป็นวงอย่างแรง ควรพยายามหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้ควบคุมเรือยาก เรืออาจจะถูกกระแสน้ำม้วนทำให้พลิกคว่ำได้

3. น้ำนิ่งหลังแก่ง (Eddy) กระแสน้ำบริเวณหลังแก่งจะเป็นน้ำวนไหลย้อนทิศทาง ทำให้มีความแรงของน้ำน้อยลงสามารถใช้เป็นจุดพักเรือได้

4. น้ำม้วนหน้าแก่ง (Hydro) เกิดจากกระแสน้ำที่ตกจากที่สูง น้ำที่ตกลงมาจะม้วนตัวอยู่หน้าแก่งก่อนที่จะไหลต่อไปซึ่งถ้ามีความแรงมาก ๆ ก็สามารถที่จะพลิกเรือให้คว่ำได้ และถ้ากระแสน้ำไหลตกจากที่สูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งอันตรายมากเท่านั้น ถ้ากรณีที่เรือพลิกคว่ำหลังลงจากที่สูงแล้ว ผู้ตกน้ำควรจะดำน้ำมุดหนีโพรงน้ำนั้นให้เร็วที่สุด อย่าพยายามขึ้นมาเหนือน้ำ เพราะกระแสน้ำจะม้วนดูดกลับลงไปอีก


** การช่วยเหลือตัวเองเมื่อพลัดตกเรือ **
เมื่อตกไปในน้ำก็ให้พยายามว่ายเข้าหาเรือ หรือเข้าฝั่งให้เร็วที่สุด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นจากกระแสน้ำที่พัดพาตัวเราให้ไปตกอีกแก่งหนึ่งได้ เมื่อตกน้ำ ให้พยายามลอยตัวให้อยู่เหนือน้ำในลักษณะท่านอนหงาย ยกขาทั้งสองข้างขึ้นระดับผิวน้ำ เสื้อชูชีพจะช่วยพยุงตัวให้ลอย พยายามให้ขาไปข้าหน้าขณะที่ไหลไปตามกระแสน้ำ ค่อย ๆ เตะขาอย่างช้า ๆ เพื่อชะลอความเร็วและป้องกันตัวเองจากการกระแทกกับแก่งหิน ที่สำคัญอย่างยิ่งในการล่องเรือ ผู้เชี่ยวชาญเน้นที่ความปลอดภัยทุกครั้ง โดยเฉพาะอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น เสื้อชูชีพ หมวกกันน็อก เสื้อชูชีพจะช่วยพยุงตัวเราให้ลอยเหนือน้ำ ส่วนหมวกกันน็อกนอกจากจะช่วยป้องกันศรีษะกระแทกกับหินแล้ว ในกรณีตกจากเรือ ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุไม้พายของคนข้างหลังตีอีกด้วย

** การจัดระดับความยากของแก่งตามมาตรฐานสากล **

ระดับ 1 ง่ายมาก มีแก่งเล็กน้อย

ระดับ 2 ธรรมดา น้ำไหลแรงขึ้น มีแก่งที่ต้องใช้เทคนิค

ระดับ 3 ปานกลาง เริ่มมีแก่งน่าตื่นเต้น เทคนิคการพายสูงขึ้น

ระดับ 4 ยาก มีแก่งที่ต้องใช้ทั้งเทคนิคและทักษะในการพาย

ระดับ 5 ยากมาก น้ำไหลเชี่ยว ต้องใช้เทคนิคและประสบการณ์การพายสูงและต้องมีความระมัดระวัง

ระดับ 6 อันตราย ไม่เหมาะแก่การล่องแก่ง







Copyright © 2010 All Rights Reserved.

ห้างหุ้นส่วนจำกัด สาริกา แอดเวนเจอร์ พอยท์ ใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยว 13/02411 , E-mail. sarikatour@hotmail.co.th

Tel. 061-639-4929, 085-374-2496, GPS 14°16'44.5"N 101°16'31.0"E
ศูนย์รวมกิจกรรม Adventure แห่งเดียวในนครนายก ที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.)